Python คืออะไร
คำถามว่า Python คืออะไร ? มันคือภาษาโปรแกรมชั้นสูงชนิดหนึ่ง ถูกออกแบบให้ code สามารถ อ่านได้ง่าย โดยการใช้ “ช่องไฟ” หรือ whitespace เป็นตัวแบ่งว่า code แต่ละบรรทัดอยู่ภายใต้ block ใด แทนที่จะใช้ปีกกา ( {,} ) แบบภาษาอื่น โครงสร้างภาษามีพื้นฐานการใช้จำนวนบรรทัดให้น้อย ถ้าเทียบกับ C++ และ Java ลักษณะ feature มีด้วยกันหลายแบบ เช่น สามารถบริหารจัดการหน่วยความจำได้เอง, รองรับการทำงานหลาย paradigm, object-oriented, functional
Python interpreters หรือ ตัวแปลคำสั่ง สามารถรองรับได้หลากหลาย OS ซึ่งหมายถึงยอมให้สามารถ รัน python code ได้หลายระบบในปัจจุบัน อีกทั้งเป็น Software open source และมี community-base สำหรับ developer มาหมาย ซึ่งบริหารจัดการภายใต้องค์กร Python Software Foundation
ประวัติของ Python
Python กำเนิดขึ้นตั้งแต่ 1980 และเริ่มใช้งานกันช่วง ธันวาคม 1989 โดยนาย Guido van Rossum ภายใต้ Centrum Wiskunde & Informatica (CWI) ที่ Netherlands
Python2.0 ออกมาตอน 16 ตุลาคม 2000 ซึ่งมี feature ใหม่ๆมากมายเช่น cycle-detecting, garbage collector และรองรับ unicode ใน version มีผลกระทบต่อ community จำนวนมากเพราะมีการ process หลายอย่างที่เปลี่ยนไป
Python3.0 ออกมาโดยที่พบปัญหาหลายอย่างตั้งแต่วันที่ 3 ธันวาคม 2008 หลังจากเทสกันใหม่อยู่นาน feature ใหม่ๆหลายตัวจึงกลับลงไปพัฒนาบน Python2.6 และ Python2.7 แทน
ปัจจุบัน Python 2.7 คือ version สุดท้ายใน series 2.0 แล้ว ได้มีการประกาศสิ้นสุดการพัฒนา (End of Life) ตั้งแต่ปี 2015 แต่แล้วก็เลื่อนมาเป็นปี 2020 อันเนื่องมาจาก code จำนวนมากไม่สามาร upgrade ขึนไปยัง Python3.0 ได้ ช่วงต้นปี 2017 ทาง Google จึงประกาศที่จะช่วยทำการแปลง library Python2.7 ให้ เพื่อให้สิ้นสุด Python2.7 สักที
วิธีการ Install Python3
Step 1 — Setting Up Python 3
ปกติแล้ว สำหรับ linux ubuntu จะมีการติดตั้ง python มาตั้งแต่แรกแล้ว เราเพี้ยงแค่ทำการ update ก็พอ
$ sudo apt-get update $ sudo apt-get -y upgrade
ทดสอบโดยการตรวจสอบ version
python3 -V
Output
Python 3.5.2
ติดตั้ง pip สำหรับใช้ download package python
$ sudo apt-get install -y python3-pip
หลังนั้น ใช้ pip ติดตั้ง package ที่ต้องการใช้งาน
$ pip3 install package_name
สำหรับ developer จำเป็นต้องใช้ package พวกนี้
$ sudo apt-get install build-essential libssl-dev libffi-dev python-dev
Step 2 — Setting Up a Virtual Environment
ทำการ install lib venv
$ sudo apt-get install -y python3-venv
หลังจากเสร็จสิ้นก็พร้อมที่จะสร้าง environment จากนั้นเลือก path ที่จะสร้าง Python program
$ mkdir environments $ cd environments
หลักจากสร้างหรือเข้ามาที่ directory แล้ว ก็เริ่มการรัน enviroment
$ python3 -m venv my_env
จะพบว่าระบบทำการสร้าง file ใน directory ให้
$ ls my_env
Output
bin include lib lib64 pyvenv.cfg share
สิ่งนี้เป็นการทำให้ระบบที่เราจะสร้างมี enviroment ที่ไม่ยุ่งเดียวกับ OS ของเราที่ใช้อยู่ เพื่อทำการ develop program ได้โดยไม่ต้องสนใจ platform ว่าเครื่องอื่นจะรองรับไหม โดยเริ่มต้น activate enviroment ขึ้นมา
$ source my_env/bin/activate
จะพบว่าหน้า prompt command เปลี่ยนไปโดยมี (env) เพิ่มมาข้างหน้า prefix อันนี้หมายความว่า enviroment ได้ถูก active ขึ้นมาและพร้อมใช้งานแล้ว
Step 3 — Creating a Simple Program
ลองสร้าง program ขึ้นมาเทสดู
(env) user@linux:~/environment$ vi hello.py
ลองใส่ code ว่า
print("Hello, World!")
ทำการรัน script hello.py
(env) user@linux:~/environment$ python hello.py
ผลลัพธ์ที่ได้ Output
Hello, World
Author: Suphakit Annoppornchai
Credit: https://saixiii.com,https://www.digitalocean.com
[…] คือ web framework ที่เขียนขึ้นมาสำหรับ Python เพื่อใช้ร่วมกัน webserver เช่น […]
[…] พร้อมทั้ง Flask flamwork สำหรับทำ web application ด้วย Python รวมถึงต้องจด domain name […]
[…] P = PHP (object-oriented scripting language) อาจจะใช้เป็น Python หรือ Perl […]
[…] Perl เพราะมันภาษาของเล่น ( – o – ) และ Python […]
[…] แต่ระดับความสามารถไม่เท่ากันเช่น python และ PHP จะสู้ Java และ .NET […]