Database SQL – FULL JOIN
จากบทความ เรื่อง SQL JOIN statement โดยปกติจะใช้สร้างความสัมพันธ์ของ column ระหว่าง table ที่เหมือนกัน แต่สำหนับ SQL FULL JOIN จะนำเอาข้อมูลทั้ง 2 table มาสร้างความสัมพันธ์เชื่อมกัน โดยไม่สนว่าข้อมูลจะมีเหมือนกันทั้ง 2 table หรือไม่ กรณีข้อมูลที่มีครบทั้ง 2 table ข้อมูลที่ได้จะมีลักษณะเหมือน SQL INNER JOIN และเพิ่มข้อมูลส่วนที่มีเพียง table เดียว โดยข้อมูลส่วนของอีก table จะมีค่าเป็น NULL แทน
รูปแบบ (Syntax)
SELECT table1.column1, table2.column2...
FROM table1
FULL JOIN table2
ON table1.common_field = table2.common_field;
ตัวอย่าง SQL FULL JOIN statement
Table 1 – สร้าง CUSTOMERS table
+----+----------+-----+-----------+----------+
| ID | NAME | AGE | ADDRESS | SALARY |
+----+----------+-----+-----------+----------+
| 1 | Ramesh | 32 | Ahmedabad | 2000.00 |
| 2 | Khilan | 25 | Delhi | 1500.00 |
| 3 | kaushik | 23 | Kota | 2000.00 |
| 4 | Chaitali | 25 | Mumbai | 6500.00 |
| 5 | Hardik | 27 | Bhopal | 8500.00 |
| 6 | Komal | 22 | MP | 4500.00 |
| 7 | Muffy | 24 | Indore | 10000.00 |
+----+----------+-----+-----------+----------+
Table 2 – สร้าง ORDERS table
+-----+---------------------+-------------+--------+
|OID | DATE | CUSTOMER_ID | AMOUNT |
+-----+---------------------+-------------+--------+
| 102 | 2009-10-08 00:00:00 | 3 | 3000 |
| 100 | 2009-10-08 00:00:00 | 3 | 1500 |
| 101 | 2009-11-20 00:00:00 | 2 | 1560 |
| 103 | 2008-05-20 00:00:00 | 4 | 2060 |
+-----+---------------------+-------------+--------+
คำสั่ง FULL JOIN statement
SQL> SELECT ID, NAME, AMOUNT, DATE
FROM CUSTOMERS
FULL JOIN ORDERS
ON CUSTOMERS.ID = ORDERS.CUSTOMER_ID;
ผลลัพธ์ที่ได้ของ SQL FULL JOIN คือเราสามารถนำเอาข้อมูล column จากทั้ง 2 table มาเชื่อมต่อกันโดยอาศัยไม่สนว่า table ไหนเป็น table หลัก เหมือน LEFT JOIN และ RIGHR JOIN แต่จะรวมเอาข้อมูลทั้ง 2 table แสดงผล ส่วนของข้อมูล table ไหนไม่มี จะใช้ค่า NULL แทน
+------+----------+--------+---------------------+
| ID | NAME | AMOUNT | DATE |
+------+----------+--------+---------------------+
| 1 | Ramesh | NULL | NULL |
| 2 | Khilan | 1560 | 2009-11-20 00:00:00 |
| 3 | kaushik | 3000 | 2009-10-08 00:00:00 |
| 3 | kaushik | 1500 | 2009-10-08 00:00:00 |
| 4 | Chaitali | 2060 | 2008-05-20 00:00:00 |
| 5 | Hardik | NULL | NULL |
| 6 | Komal | NULL | NULL |
| 7 | Muffy | NULL | NULL |
| 3 | kaushik | 3000 | 2009-10-08 00:00:00 |
| 3 | kaushik | 1500 | 2009-10-08 00:00:00 |
| 2 | Khilan | 1560 | 2009-11-20 00:00:00 |
| 4 | Chaitali | 2060 | 2008-05-20 00:00:00 |
+------+----------+--------+---------------------+
สำหรับ database บางชนิด อาจจะไม่ support FULL JOIN เช่น MySQL เราสามารถนำเอาข้อมูลจาก LEFT JOIN และ RIGHT JOIN มา UNION กันเองแทนได้
SQL> SELECT ID, NAME, AMOUNT, DATE
FROM CUSTOMERS
LEFT JOIN ORDERS
ON CUSTOMERS.ID = ORDERS.CUSTOMER_ID
UNION ALL
SELECT ID, NAME, AMOUNT, DATE
FROM CUSTOMERS
RIGHT JOIN ORDERS
ON CUSTOMERS.ID = ORDERS.CUSTOMER_ID
Reference:
รวมคำสั่ง SQL Command พื้นฐานเบื้องต้น
Author: Suphakit Annoppornchai
Credit: https://saixiii.com, https://www.tutorialspoint.com