ip_address_banner

IP Address คืออะไร

Internet Protocol address  หรือ IP Address คืออะไร ? มันคือสิ่งที่ระบุตัวตนของ computer และ อุปกรณ์อื่นๆ เช่น printer, switch,  router, อุปกรณ์ mobile อื่นๆ ที่สามารถเชื่อมต่อเข้าสู่ TCP/IP network ได้ ซึ่ง IP address จะเป็นตัวบ่งบอกถึงที่อยู่ของผู้ใช้งานเน็ตบ้าน หรือ node ในระบบ network และมักจะเขียนอยู่ในรูปตัวเลข 4 ชุดเช่น 172.16.12.1 สำหรับ IPv4 ซึ่งมีลักษณะเป็นเลข 32-bit แต่ด้วยการเติบโตของ internet โดยเฉพาะ Internet of things หรือ IoT ทำให้ IPv4 ไม่สามารถรองรับจำนวนอุปกรณ์ที่จะเกิดขึ้นใหม่ได้ทัน เป็นผลทำให้เกิด IPv6 ที่ใช้ 128-bit ขึ้นมาแทนในอนาคต

ปัจจุบัน IP address ถูกจัดการโดย Internet Assigned Numbers Authority (IANA) และ regional Internet registries (RIR) เพื่อแจกจ่าย IP address ให้กับ user หรือ  Internet service providers (ISP) เพื่อนำไปใช้งานโดยไม่ซ้ำกัน แต่ละ ISP และ private network จะทำการแจก IP address ที่ได้รับมาให้กับอุปกรณ์ที่อยู่ใน network ของตน ซึ่งอาจจะเป็นแบบ statis IP ที่ตายตัว หรือ dynamic IP ที่เปลี่ยนทุกครั้งที่ connection เข้ามาใหม่ ก็ขึ้นอยู่กับ ISP นั้นๆจะทำการ configure

IPv4 Address

สำหรับ IPv4 ใช้หลักการสร้าง 32-bits ทำให้ address มีจำนวนเท่ากับ 429,4967,296 (232) IP address และแน่นอน IPv4 บางส่วน จะต้องถูกนำไปใช้งานเฉพาะด้าน เช่นในระบบ private network ประมาณ 18ล้าน IP address และ  multicast addresses ประมาณ 270 ล้าน address เรานิยมเขียน IP address ในลักษณะของตัวเลข 4 ชุดที่แบ่งด้วยจุด (.) โดยแต่ละชุดจะมีเลขได้ตั้งแต่ 0-255 เช่จ 172.16.254.1 ซึ่งแต่ละชุดจะแสดงถึง address ทีละ 8 bit แต่บางครั้งก็สามารถแสดงในรูปแบบ เลขฐาน 16, เลขฐาน 8 หรือข้อมูล binary ก็ได้

ip-address

Subnet

ในช่วงแรกของการพัฒนา Internet Protocol หรือ IP ทางผู้ที่ดูแลระบบมักจะแบ่ง IP address ของเป็น 2 ส่วนคือ ส่วนของ network number และ host number ซึ่งชุดของ octet แรกสุด (ซ้ายสุด) จะกำหนดว่าเป็น network number และส่วน bit ชุดที่เหลือคือ host number ซึ่งในปี 1981 ได้มีการกำหนด Internet address specification ขึ้นมาโดยเรียกว่า classful network

Subnet

Classful network ใช้ในการกำหนด IP address ให้อุปกรณ์ โดยชุดของ IP address ต้องอยู่ภายใต้ subnet ที่กำหนด และชุดตัวเลข 3 ชุดแรกจะเป็นตัวบอก class ของ address ซึ่งมีด้วยกัน 3 แบบคือ A, B, C ซึ่งภายใน class เดียวกันอุปกรณ์สามารถเชื่อมต่อกันได้โดยตรง

Class Leading
bits
Size of network
number
bit field
Size of rest
bit field
Number
of networks
Addresses
per network
Start address End address
A 0 8 24 128 (27) 16,777,216 (224) 0.0.0.0 127.255.255.255
B 10 16 16 16,384 (214) 65,536 (216) 128.0.0.0 191.255.255.255
C 110 24 8 2,097,152 (221) 256 (28) 192.0.0.0 223.255.255.255

สามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ Subnet คืออะไร

Private Address

ถ้าจำตอนต้นได้เรามีพูดถึง private address ในช่วงต้นไป เพราะในความเป็นจริงตัวอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อ internet จะได้ต้อง IP address ที่ไม่ซ้ำกัน แต่ก็จะมีบางอุปกรณ์ที่ใช้งานภายในและไม่จำเป็นต้องเชื่อมต่อ internet เช่น server ภายในบริษัทที่ใช้งานสื่อสารกันบน TCP/IP ระหว่างเครื่องกันเอง ซึ่งไม่จำเป็นต้องมี IP address บน internet ก็ได้ จึงได้มีการกำหนด IPv4 address สำหรับ Private network ให้ไปใช้งานกันภายใน และไม่มีการตั้ง routing บน Internet แต่ถ้าต้องการให้อุปกรณ์ใน network นี้เชื่อมออกไปได้ต้องทำการ NAT IP หรือ network address translation แปลงเป็น public address ก่อน

   Start  End  No. of addresses
 24-bit block (/8 prefix, 1 × A)  10.0.0.0  10.255.255.255  16,777,216
 20-bit block (/12 prefix, 16 × B)  172.16.0.0  172.31.255.255  1,048,576
 16-bit block (/16 prefix, 256 × C)  192.168.0.0  192.168.255.255  65,536

หลังจากเห็นตารางแล้วบางท่านอาจจะเริ่มสับสนแล้ว เพราะถ้าลองคิดง่ายๆคือ เราแบ่ง subnet ออกมาเพราะอะไร เช่นในบริษัทเราทำเกี่ยวกับธุรกิจด้าน IT เราจะมี server ที่ไว้ run application เพื่อให้บริการลูกค้าที่ทำงานตลอดเวลา และก็จะมีส่วนที่เป็น computer ไว้สำหรับ network admin เข้ามาทำงานใน office ซึ่งเราคงไม่อยากให้ พนักงานของเรา set ip เครื่อง computer ไปชนกับ server เพราะมันจะสร้างความเสียหายให้ธุรกิจได้ เราจึงควรแยก network 2 กลุ่มนี้ออกจากกัน อย่างเช่นให้พวกกลุ่มของ server ใช้ class A หรือ 10.xx.xx.xx และก็ส่วนของพนักงานใช้ 172.xx.xx.xx ทีนี้ก็จะไม่มีการแย่ง IP หรือ ชนกันแล้ว

ข้อมูลอ้างอิง

Author: Suphakit Annoppornchai

Credit: https://saixiii.com, https://en.wikipedia.org

5 Thoughts to “IP Address คืออะไร IP คือ เครื่องหมายที่บ่งบอกตัวตนที่อยู่ใน network”

  1. […] https://saixiii.com ซึ่ง doman name นี้จะแปลงกลับเป็น IP ด้วย Domain Name System (DNS) เพื่อระบบจะใช้ IP […]

  2. […] ก็หมายความว่าแต่ละอุปกรณ์จะต้องมี IP address ไม่ซ้ำกันเลยเพื่อระบุตัวตนได้ […]

  3. […] คืออะไร ?  มันคือการแบ่งกลุ่มบนระบบ IP network ซึ่งเราสามารถแบ่งกลุ่มของ network […]

  4. […] network เช่นเดียวกันกับ IP address ที่เรารู็จักกัน […]

  5. […] ? มันคือมาตราฐานของ network protocol ที่ใช้บน Internet Protocol (IP) network โดนควบคุมผ่าน DHCP server […]

Leave a Reply