ubuntu-linux

Ubuntu (Linux)

สำหรับผู้ที่ไม่รู้จัก Linux Ubuntu ว่าคืออะไรนั้น จริงๆมันคือระบบปฎิบัติการ Linux ชนิดหนึงซึ่ง  ลีนุกซ์ (Linux) ก็เป็นระบบปฏิบัติการเช่นเดียวกับ Dos , Window หรือ Unix โดยลีนุกซ์นั้นจัดว่าเป็นระบบปฏิบัติการยูนิกซ์ประเภทหนึ่ง การที่ลีนุกซ์เป็นที่กล่าวขานกันมากขณะนี้ เนื่องจากความสามารถของตัวระบบปฏิบัติการและโปรแกรมประยุกต์ที่ทำงานบนระบบลีนุกซ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งโปรแกรมในตระกูลของ GNU (GNU’s Not UNIX) และสิ่งที่สำคัญที่สุดก็คือระบบลีนุกซ์เป็นระบบปฏิบัติการประเภทฟรีแวร์ (Free Ware) และเป็นที่นิยมเอามาทำเป็น server เพื่อทำเป็น webserver หรือ LAMP

LAMP

ลินุกซ์ ถือเป็นส่วนสำคัญของซอฟต์แวร์เซิร์ฟเวอร์ที่เรียกว่า LAMP ย่อมาจาก Linux, Apache, MySQL, Perl/PHP/Python ซึ่งเป็นที่นิยมใช้เป็นเว็บเซิร์ฟเวอร์ และพบมากสุดระบบหนึ่ง ตัวอย่างซอฟต์แวร์ซึ่งพัฒนาสำหรับระบบนี้คือ มีเดียวิกิ ซอฟต์แวร์สำหรับวิกิพีเดีย
เนื่องจากราคาที่ต่ำและการปรับแต่งได้หลากหลาย ลินุกซ์ถูกนำมาใช้ในระบบฝังตัว เช่นเครื่องรับสัญญาณโทรทัศน์ โทรศัพท์มือถือ และอุปกรณ์พกพาต่าง ๆ ลินุกซ์เป็นคู่แข่งที่สำคัญของ ซิมเบียนโอเอส ซึ่งใช้ในโทรศัพท์มือถือจำนวนมาก และใช้แทนวินโดวส์ซีอี และปาล์มโอเอส บนเครื่องคอมพิวเตอร์พกพา เครื่องบันทึกวิดีโอก็ใช้ลินุกซ์ที่ดัดแปลงเป็นพิเศษ ไฟร์วอลล์และเราเตอร์หลายรุ่น เช่นของ Linksys ใช้ลินุกซ์และขีดความสามารถเรื่องทางเครือข่ายของมัน

ก่อนที่เราจะเริ่มการ install เรามาทำความเข้าใจ version กันก่อน เพราะเราจะได้รู้ว่าควรเลือก version release ไหนมาใช้งานใช้งาน

linux

Ubuntu Release

โครงการ Ubuntu มีการออกรุ่นของระบบปฏิบัติการทุก 6 เดือน แต่ละรุ่นใช้เรียกโดยโค้ดเนม และเลขกำกับรุ่น ตามการพัฒนา ซึ่งใช้ตามเลขปีคริสต์ศักราชและเดือนที่ออก เช่น การออกในเดือนตุลาคม ค.ศ. 2004 จะมีเลขรุ่นเป็น 4.10 ใช้เป็นหมายเลขรุ่นไปด้วย
การเปิดตัวทุกเวอร์ชันจะออกช้ากว่า GNOME ประมาณ 1 เดือน, และออกตามหลัง 1 เดือน เมื่อ X.org ออกเวอร์ชันใหม่. ดังนั้นทุกๆการเปิดตัว จะประกอบด้วยเวอร์ชันใหม่ของทั้งGNOME และ X
สำหรับเวอร์ชัน 6.06 และ 8.04 จะมีการติดป้ายชื่อ Long Term Support (LTS) เป็นการบอกว่ามันจะได้รับการสนับสนุนและการปรับปรุงเป็นเวลา 3 ปีสำหรับเครื่องเดสท็อปและ5 ปี สำหรับเครื่องแม่ข่าย, ด้วยการจ่ายค่าสนับสนุนทางเทคนิคของบริษัท Canonical

ในความเห็นของผมเราควรเลือก release ที่ end-of-life-date ไกลที่สุด เพื่อที่เราสามารถ update และ download program ที่ support ได้ต่อเนื่อง โดยสักเกตุจาก release ที่ลงท้ายด้วย LTS ณ ตอนนี้ผมจึงขอเลือก version release Ubuntu 16.04.2 LTS

LTS ย่อมาจาก “long-term support” ที่หมายความถึงการรองรับหรือสนับสนุนระยะ
ยาวจากอูบุนตุ เวอร์ชั่น LTS ถูกปล่อยออกสู่ตลาดโดยเน้นกลุ่มผู้ใช้งานด้านธุรกิจ 
เน้นความเสถียรและจะได้รับการสนับสนุนหรือคอยอัพเดตเรื่องความปลอดภัยเป็นเวลาหลายปี

Link : https://wiki.ubuntu.com/Releases

Ubuntu Type

ในส่วนนี้มีด้วยกัน 2 แบบคือ desktop และ server  ซึ่งโดยหลักการแล้วทั้ง 2 แบบทำงานได้ไม่ต่างกัน แต่ถ้าคุณใช้งานบน PC หรือ notebook ก็ควรเลือกแบบ desktop เพราะเราจะสามารถ console ด้วยหน้า GUI ได้  สำหรับผู้ที่ต้องการ install เพื่อใช้งานเป็น server ที่เปิดใช้งานตลอดเวลา และ console ด้วยผ่าน remote ssh ไม่ต้องอาศัย GUI ก็เลือกแบบ Server ครับ

CPU-Bit

เช่นเดียวกันคือมีด้วยกัน 2 version คือ 32bit และ 64bit ซึ่งขึ้นอยู่กับเครื่องที่เรา install ด้วยว่า support 64bit หรือไม่ (ถ้าเป็น Intel คือ Core 2 duo ขึ้นไป) เราแนะนำให้ใช้ 64bit ถ้าเครื่องรองรับครับ

64bit : 64-bit PC (AMD64) desktop image , 64-bit PC (AMD64) server install image
32bit : 32-bit PC (i386) desktop image , 32-bit PC (i386) server install image

Installation

การติดตั้งโดยทั่วไป จะติดตั้งผ่านซีดีที่มีโปรแกรมบรรจุอยู่ในแผ่นซึ่งแผ่นซีดีนั้นสามารถหามาได้หลายวิธี เช่นสามารถแบร์นได้จาก ISO image ที่ดาวน์โหลดจากอินเทอร์เน็ต หรือสามารถหาซื้อซีดีได้ในราคาถูกโดยอาจจะซื้อรวมหรือแยกพร้อมกับคู่มือ เนื่องจากสัญญาอนุญาตของโปรแกรมเป็นแบบ GPL ลินุกซ์จากผู้จัดทำบางตัวเช่น เดเบียน สามารถติดตั้งได้จากโปรแกรมขนาดเล็กผ่านฟลอปปีดิสก์ ซึ่งเมื่อติดตั้งส่วนหนึ่งสำเร็จ ตัวโปรแกรมของมันเองจะดาวน์โหลดส่วนอื่นเพิ่มขึ้นมาผ่านทางอินเทอร์เน็ต หรือสำหรับบางตัวเช่นอูบุนตุ สามารถทำงานได้ผ่านซีดีโดยติดตั้งในแรมในช่วงที่เปิดเครื่อง
การทำงานของลินุกซ์สามารถติดตั้งได้ในเครื่องเซิร์ฟเวอร์หรือเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีสมรรถนะสูง จนถึงเครื่องที่สมรรถนะต่ำ ที่ไม่มีฮาร์ดไดรฟ์หรือมีแรมน้อยโดยทำงานเป็นเครื่องไคลเอนต์โดยที่เครื่องไคลเอนต์ สามารถบูตและเรียกใช้งานโปรแกรมต่างๆผ่านทางเน็ตเวิร์กจากเครื่องเทอร์มินอลเซิร์ฟเวอร์ ซึ่งวิธีการนี้ยังคงช่วยให้ประหยัดเวลาในการติดตั้งโปรแกรม เพราะติดตั้งเพียงเครื่องเดียวที่เทอร์มินอลเซิร์ฟเวอร์ รวมถึงราคาของเครื่องไคลเอนต์ที่ไม่จำเป็นต้องมีสมรรถภาพสูงซึ่งมีราคาถูกกว่าเครื่องทั่วไป

(มีในบทต่อไป)

 

Author: Suphakit Annoppornchai

Credit: https://saixiii.com, https://th.wikipedia.org, http://releases.ubuntu.com

10 Thoughts to “Linux Ubuntu คืออะไร อูบุนตู คือ ระบบปฎิบัติการลินุกซ์”

  1. […] Ubuntu Linux  บทความนี้เราจะมาทำการ install ubuntu […]

  2. […]          L = Linux  อันได้แก่ Redhat,Centos,Ubuntu,Debian,Suse (ในที่นี้เราเป็น Ubuntu) […]

  3. […] LAMP กันไปแล้ว รวมถึง Linux  […]

  4. […] LAMP กันไปแล้ว รวมถึงเรื่อง Linux และ Apache ที่นี้ตัวต่อไปก็ คือ MySQL […]

  5. […] Ubuntu Linux  บทความนี้เราจะมาทำการ install ubuntu […]

  6. […] สำหรับ linux ubuntu จะมีการติดตั้ง python มาตั้งแต่แรกแล้ว […]

  7. […] สำหรับ Linux สามารถติดตั้งได้จาก repository ตัวอย่างเช่น ubuntu […]

  8. […] สำหรับ Linux สามารถ install ผ่าน repository ได้ เช่น Ubuntu […]

  9. […] สำหรับผู้ที่ยังไม่ได้ติดตั้ง LINE Python SDK หรือ LINE Python library ท่านสามารถติดตั้งด้วย command นี้บน Linux (Ubuntu) […]

  10. […] tcpdump มาให้ตั้งแต่แรกแล้ว เช่น Ubuntu server ของ host นี้ แต่อย่างที่บอก […]

Leave a Reply